วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสเมอร์

     
ต้นกำเนิดของไวรัสเมอร์สคอฟ
     ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

     

      โรคเมอร์ส เป็นโรคที่พบใหม่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชนิด corona virus ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม single-stranded RNA virus ไวรัสชนิดนี้มีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นไวรัสที่ติดเชื้อ อยู่บริเวณส่วนต้นของทางเดินหายใจในคน เป็นสาเหตุอาการโรคหวัดทั่วๆไป แต่มีบางสายพันธุ์ที่ติดเชื้อในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เช่น อูฐ และค้างคาว เป็นต้น ต่อมาไวรัสสายพันธ์นี้ได้มีการพัฒนาจนสามารถแพร่เข้ามาติดเชื้อในคนได้ โดยพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกในประเทศ ซาอุอาราเบีย ในปี ค.ศ.2012 ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ไอ หายใจไม่สะดวก ในที่สุดอาจเสียชีวิต อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกันตั้งแต่รุนแรงมากจนถึงรุนแรงน้อย และมีประมาณร้อยละ 20 ที่ไม่แสดงอาการเลย ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าไวรัสจากสัตว์เข้าสู่คนด้วยวิธีใด และการติดต่อระหว่างคนเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่มีข้อมูลว่าการติดต่อมักเกิดขึ้นภายในครอบครัว และจากในโรงพยาบาล ข้อมูลปัจจุบันพบว่ามีผู้ติดเชื้อเมอร์สทั่วโลกกว่า 500คน เสียชีวิตไปแล้ว 140คน โดยยังไม่มียา และวัคซีนที่จะใช้ในการรักษา และป้องกันโรคได้


ระวังไวรัสเมิร์สคอฟ,MERS,MERS-CoV,เชื้อโรค,ไวรัส,ป่วย,ติดเชื้อ,วัคซีน,


ความร้ายแรงของไวรัสเมอร์สคอฟ
     ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต




การป้องกันเบื้องต้นไวรัสเมอร์สคอฟ
1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
6. มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์



ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สคอฟอย่างต่อเนื่อง
     
      หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย

    ที่มา: www.momypedia.com/article-6-35-617/ระวังไวรัสเมอร์ส-mers-cov-ระบาด-เชื้อโรคไม่มียารักษา/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น